Main Menu | | Book Detail

ภายใต้เงาของสหรัฐอเมริกาและบริบทสงครามเย็น "หมู่บ้าน" และ "ชนบท" ในประเทศโลกที่ 3 โดยเฉพาะประเทศไทย เริ่มถูกจัดวางในแผนที่ ถูกจินตนาการ และถูกประดิษฐ์ภาพแทนขึ้นใหม่ในโครงการปฏิรูปชนบทเพื่อสร้างรัฐประชาชาติและป้องกันคอมมิวนิสต์ หมู่บ้านจึงกลายมาเป็นการจัดประเภทที่ถูกวัดประเมินและผลิตซ้ำได้ เป็นหน่วยที่มีอิสระในตัวเองและมีเอกภาพ ก่อนที่ความตื่นตัวในการศึกษาหมู่บ้านและชนบทเหล่านี้จะนำไปสู่การสถาปนา "ชนบทศึกษา" รวมไปถึงอุตสาหกรรมการวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ถูกขับดันไปด้วยวาระทางการเมือง เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่การปฏิเสธหรือต้องการผลักไสมรดกทั้งหมดของอาณานิคม หรือจักรวรรดินิยมอเมริกัน แต่มุ่งไปที่การวิพากษ์และเปิดเผยให้เห็นลักษณะของความรู้ทางมานุษยวิทยาของไทยยุคบุกเบิกที่ไม่อาจแยกขาดจากสงครามเย็นทั้งในฐานะบริบทางประวัติศาสตร์และในฐานะโลกทัศน์ทางสังคมการเมือง...(จากปกหลัง)