• |
  • |
  • |

Main Menu | | Book Detail

  บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์ 

หนังสือเล่มนี้เป็นทั้งบันทึกส่วนตัวว่าด้วยการผจญภัยและประสบการณ์แปลกใหม่ยามอยู่ไกลบ้านไกลเมือง และเป็นตัวอย่าง "หลักฐานชั้นต้น" ชิ้นสำคัญของงานเขียนในยุคอาณานิคมจากมุมมองของเจ้าอาณานิคม แง่มุมของคนหนุ่มที่มีความโรแมนติกอยู่ในตัว มองโลกลึกซึ้งคมคาย แต่ก็ช่างติไม่แพ้กัน ด้วยเหตุที่ "อ็องรี มูโอต์" ไม่ใช่นายทหารหรือเจ้าหน้าที่ปกครองของรัฐ จึงกล่าวได้ว่าบันทึกของเขาเป็นไปด้วยความสนใจใคร่รู้โดยแท้ บันทึกการเดินทางของเขากลายเป็นงานเขียนที่มีชีวิตชีวา "ไม่ธรรมดา" จากการสอดแทรกแง่คิด มุมมอง อารมณ์ขัน และการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ประสบพบเห็นตลอดทางออกมาเป็นความเรียงน้ำเสียงสนุกๆ ซึ่งระหว่างบรรทัดแฝงด้วยทัศนคติที่ผสมผสาน ระหว่างชายผิวขาวเจ้าอาณานิคม กับ "นักท่องเที่ยวฝรั่ง" ที่ทึ่งและตะลึงกับ "ของแปลก" สมัยรัชกาลที่ 4 ในบันทึกของมูโอต์นั้น เรียกได้ว่าเป็น "พระเอก" ของเล่ม ผู้อ่านจึงได้รับข้อมูลภาพสะท้อนที่เป็นจริงของบ้านเมืองเราในหลายๆ ภูมิภาคเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสังคม วิถีชีวิตท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐในสมัยนั้น ส่วน "ปราสาทนครวัด" ก็สร้างชื่อเสียงให้มูโอต์ในโลกตะวันตกจากการทำหน้าที่ "กระบอกเสียง" บอกเล่าถึงการมีอยู่ของซากปรักหักพังในดินแดนกัมพูชา และพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของศาสนสถานแห่งนี้ออกมาด้วยตัวอักษรและภาพสเกตช์รายละเอียดตระการตา จนหลายคนเข้าใจผิดไปว่า นายฝรั่งรายนี้คือผู้ค้นพบนครวัด! ปิดท้ายด้วย "เมืองลาว" ดินแดนสุขสงบงดงามสุดปลายเส้นทางมรณะที่เรียกขานกันว่า "ป่าดงพญาไฟ" เมืองลาวคือจุดหมายในการเดินทางเที่ยวหลังซึ่งเต็มไปด้วยความลำบากแสนสาหัสของมูโอต์ แต่เขาก็ไปถึงเมืองหลวงพระบางได้ในที่สุด แม้จะเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ต้องจบชีวิตลงในวัย 35 ด้วยก็ตาม

Published
: 2023
Publisher
: มติชน
Category
Language
: -
Page
: 448
Rating
:

Available
Only 3 more copies!

MARC Information
245 
บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์ 
300 
448 
520 
หนังสือเล่มนี้เป็นทั้งบันทึกส่วนตัวว่าด้วยการผจญภัยและประสบการณ์แปลกใหม่ยามอยู่ไกลบ้านไกลเมือง และเป็นตัวอย่าง "หลักฐานชั้นต้น" ชิ้นสำคัญของงานเขียนในยุคอาณานิคมจากมุมมองของเจ้าอาณานิคม แง่มุมของคนหนุ่มที่มีความโรแมนติกอยู่ในตัว มองโลกลึกซึ้งคมคาย แต่ก็ช่างติไม่แพ้กัน ด้วยเหตุที่ "อ็องรี มูโอต์" ไม่ใช่นายทหารหรือเจ้าหน้าที่ปกครองของรัฐ จึงกล่าวได้ว่าบันทึกของเขาเป็นไปด้วยความสนใจใคร่รู้โดยแท้ บันทึกการเดินทางของเขากลายเป็นงานเขียนที่มีชีวิตชีวา "ไม่ธรรมดา" จากการสอดแทรกแง่คิด มุมมอง อารมณ์ขัน และการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ประสบพบเห็นตลอดทางออกมาเป็นความเรียงน้ำเสียงสนุกๆ ซึ่งระหว่างบรรทัดแฝงด้วยทัศนคติที่ผสมผสาน ระหว่างชายผิวขาวเจ้าอาณานิคม กับ "นักท่องเที่ยวฝรั่ง" ที่ทึ่งและตะลึงกับ "ของแปลก" สมัยรัชกาลที่ 4 ในบันทึกของมูโอต์นั้น เรียกได้ว่าเป็น "พระเอก" ของเล่ม ผู้อ่านจึงได้รับข้อมูลภาพสะท้อนที่เป็นจริงของบ้านเมืองเราในหลายๆ ภูมิภาคเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสังคม วิถีชีวิตท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐในสมัยนั้น ส่วน "ปราสาทนครวัด" ก็สร้างชื่อเสียงให้มูโอต์ในโลกตะวันตกจากการทำหน้าที่ "กระบอกเสียง" บอกเล่าถึงการมีอยู่ของซากปรักหักพังในดินแดนกัมพูชา และพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของศาสนสถานแห่งนี้ออกมาด้วยตัวอักษรและภาพสเกตช์รายละเอียดตระการตา จนหลายคนเข้าใจผิดไปว่า นายฝรั่งรายนี้คือผู้ค้นพบนครวัด! ปิดท้ายด้วย "เมืองลาว" ดินแดนสุขสงบงดงามสุดปลายเส้นทางมรณะที่เรียกขานกันว่า "ป่าดงพญาไฟ" เมืองลาวคือจุดหมายในการเดินทางเที่ยวหลังซึ่งเต็มไปด้วยความลำบากแสนสาหัสของมูโอต์ แต่เขาก็ไปถึงเมืองหลวงพระบางได้ในที่สุด แม้จะเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ต้องจบชีวิตลงในวัย 35 ด้วยก็ตาม 
No Reviews
There are no reviews yet, why not be the first.

Please Login before write a review.

This website uses cookies

We use cookies to optimize performance. and good experience in using the website If you continue to use this website By accepting the terms and conditions and privacy policy