• |
  • |
  • |

Main Menu | | Book Detail

  เขียนจีนให้เป็นไทย 

การสร้างคนจีนให้ “เป็นอื่น” นี้ได้สร้างมรดกตกทอดซึ่งส่งผลสะท้อนอยู่ในสังคมไทยทุกวันนี้ ดังที่คำถามเรื่อง “ความเป็นไทย” ยังคงเป็นประเด็นกึกก้องสำหรับผู้คนที่มองตัวเองหรือถูกผู้อื่นมองว่าเป็น “จีน” แม้ต้นกำเนิดของการจำแนกประเภทนี้จะสามารถย้อนไปได้ยาวไกลถึงช่วงกำเนิดชาติไทย ทว่ากลับมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยนิดที่เน้นพินิจพิจารณาว่าการจำแนกประเภทนี้ถูกเสริมสร้างและทำให้เป็นรูปร่างโดยกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความรู้ของไทยในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือ นักสังคมศาสตร์ในช่วงสงครามเย็น หนังสือเล่มนี้ เป็นผลผลิตจากการวิจัยที่ปราณีตและการไตร่ตรองอย่างรอบด้าน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักวิชาการอเมริกันมีส่วนอย่างสำคัญในการตราตรึงและปรับแต่งแนวคิด “สารัตถะ” ที่ให้ภาพว่าใครคือคนจีน นอกจากนี้ บรรดานักวิชาการอเมริกันยังมีส่วนในการตราคำถามทางวิชาการที่ว่า ชุมชนจีนจะสามารถถูกผนวกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทยได้อย่างไร จากคำนำเสนอของ Matthew Phillips ผู้เขียน Thailand in the Cold war “คนจีน” วัตถุศึกษาสำคัญของสังคมศาสตร์อเมริกันในการทำความเข้าใจสังคมไทย เพื่อเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลและเตรียมป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคืบคลานสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นสงครามเย็น งานศึกษาของนักวิชาการอเมริกันที่เข้ามาศึกษาในไทยจำนวนมากได้กลายเป็นฐานคิดให้แก่วงการวิชาการไทยในเวลาต่อมา ทว่าการก่อตัวของ “ชาตินิยมวิชาการ” ได้สร้างรอยแยกระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เกิดการศึกษาสวนกลับคำอธิบายเดิมๆ ของอเมริกันภายใต้บรรยากาศชาตินิยม โดยเฉพาะการศึกษาคนจีน ความเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน มีส่วนในการเริ่มจัดวางตำแหน่ง “คนจีน” ใหม่ในประวัติศาสตร์และสังคมไทย “เจ๊ก” “คนไทยเชื้ิอสายจีน” ที่เป็นมิตรกับประเทศ ห่างไกลจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้น และถมช่องว่างที่เคยแยกคนจีนออกจากความเป็นไทยของสังคมศาสตร์อเมริกัน และดูจะเป็นคำอธิบายที่แข็งแกร่งขึ้นยิ่งกว่างานศึกษาของอเมริกันในยุคสงครามเย็น

Published
: 2023
Publisher
: มติชน
Category
Language
: -
Page
: 356
Rating
:

Available
Only 3 more copies!

MARC Information
245 
เขียนจีนให้เป็นไทย 
300 
356 
520 
การสร้างคนจีนให้ “เป็นอื่น” นี้ได้สร้างมรดกตกทอดซึ่งส่งผลสะท้อนอยู่ในสังคมไทยทุกวันนี้ ดังที่คำถามเรื่อง “ความเป็นไทย” ยังคงเป็นประเด็นกึกก้องสำหรับผู้คนที่มองตัวเองหรือถูกผู้อื่นมองว่าเป็น “จีน” แม้ต้นกำเนิดของการจำแนกประเภทนี้จะสามารถย้อนไปได้ยาวไกลถึงช่วงกำเนิดชาติไทย ทว่ากลับมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยนิดที่เน้นพินิจพิจารณาว่าการจำแนกประเภทนี้ถูกเสริมสร้างและทำให้เป็นรูปร่างโดยกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความรู้ของไทยในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือ นักสังคมศาสตร์ในช่วงสงครามเย็น หนังสือเล่มนี้ เป็นผลผลิตจากการวิจัยที่ปราณีตและการไตร่ตรองอย่างรอบด้าน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักวิชาการอเมริกันมีส่วนอย่างสำคัญในการตราตรึงและปรับแต่งแนวคิด “สารัตถะ” ที่ให้ภาพว่าใครคือคนจีน นอกจากนี้ บรรดานักวิชาการอเมริกันยังมีส่วนในการตราคำถามทางวิชาการที่ว่า ชุมชนจีนจะสามารถถูกผนวกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทยได้อย่างไร จากคำนำเสนอของ Matthew Phillips ผู้เขียน Thailand in the Cold war “คนจีน” วัตถุศึกษาสำคัญของสังคมศาสตร์อเมริกันในการทำความเข้าใจสังคมไทย เพื่อเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลและเตรียมป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคืบคลานสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นสงครามเย็น งานศึกษาของนักวิชาการอเมริกันที่เข้ามาศึกษาในไทยจำนวนมากได้กลายเป็นฐานคิดให้แก่วงการวิชาการไทยในเวลาต่อมา ทว่าการก่อตัวของ “ชาตินิยมวิชาการ” ได้สร้างรอยแยกระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เกิดการศึกษาสวนกลับคำอธิบายเดิมๆ ของอเมริกันภายใต้บรรยากาศชาตินิยม โดยเฉพาะการศึกษาคนจีน ความเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน มีส่วนในการเริ่มจัดวางตำแหน่ง “คนจีน” ใหม่ในประวัติศาสตร์และสังคมไทย “เจ๊ก” “คนไทยเชื้ิอสายจีน” ที่เป็นมิตรกับประเทศ ห่างไกลจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้น และถมช่องว่างที่เคยแยกคนจีนออกจากความเป็นไทยของสังคมศาสตร์อเมริกัน และดูจะเป็นคำอธิบายที่แข็งแกร่งขึ้นยิ่งกว่างานศึกษาของอเมริกันในยุคสงครามเย็น 
No Reviews
There are no reviews yet, why not be the first.

Please Login before write a review.

This website uses cookies

We use cookies to optimize performance. and good experience in using the website If you continue to use this website By accepting the terms and conditions and privacy policy