• |
  • |
  • |

Main Menu | | Book

  • View :
Author : -
Publishing Date : Nov 24, 2015
Author : วิราวรรณ นฤปิติ.
Publishing Date : Nov 07, 2021
Author : ยงยุทธ ชูแว่น.
Publishing Date : Nov 07, 2021
\"การค้นหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทยของผู้เขียนเป็นเสมือนการเดินทางเข้าไปในป่าลึกแห่งอดีตที่น่าหลงใหล เพราะเป็นอาณาบริเวณที่มีทั้งความซับซ้อนหลากหลายและกว้างขวางยิ่ง จนบางครั้งทำให้รู้สึกกริ่งเกรง หวาดกลัวในความไพศาลของพรมแดนความรู้ เมื่อเทียบกับกำลังที่จำกัดของตัวเอง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า \'เรื่องเล่า\' เหล่านี้ จะช่วยให้คนรุ่นใหม่มองเห็นตัวเองและคุณค่าของพื้นที่สำคัญบางส่วนที่อาจละเลยหรือมองข้ามกันมานาน พื้นที่ทางจิตวิญญาณอันเสมือนผืนป่าหลังบ้าน ซึ่งได้ซ่อนขุมทรัพย์และความใฝ่ฝันบางอย่างไว้ การช่วยกันฟื้นฟูรักษาจะทำให้เกิดความหมายที่งดงาม และสามารถเหยียบยืนบน \'สวนสวรรค์\' แห่งนี้ได้อย่างเต็มเท้า เราจะรู้สึกสดชื่น เป็นอิสระ เมื่อได้สูดหายใจเอากลิ่นดอกไม้พื้นเมืองอันคุ้นเคย ก่อนย่างก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับอดีตอย่างมั่นคง ในท่ามกลางความผันแปรของมวลอากาศโลกที่ไม่แน่นอนมากขึ้นทุกปี\" -- ปกหลัง.
Author : สุรพศ ทวีศักดิ์.
Publishing Date : Nov 07, 2021
การที่มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นศาสนจักรของรัฐ มีมติให้พระสงฆ์ทุกวัดทั่วประเทศเทศนาสอนประชาชนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขณะที่มีมติและคำสั่งห้ามภิกษุสามเณรจัดอภิปราย เสวนา แสดงความเห็น หรือร่วมชุมนุมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าพระเณรไม่มีเสรีภาพทางศาสนาใช่หรือไม่ เพราะ \"เสรีภาพ\" (Freedom) หมายถึง \"เลือกได้\" เช่น เลือกได้ว่าจะตีความพุทธธรรมสนับสนุนความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็ได้ จะตีความพุทธธรรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยก็ได้ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริง ก็ต้องเลือกตีความพุทธธรรมสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาว่าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริงหรือไม่? เป็นปัญหาสำคัญพอๆ กับปัญหาว่านักการเมืองมีเสรีภาพทางการเมืองหรือไม่? ซึ่งชัดเจนว่าในบ้านเรานักการเมืองไม่ได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่สามารถอภิปรายประเด็นปัญหาสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในสภาได้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแค่นักการเมืองพูดพาดพิงสถาบันกษัตริย์เฉียดๆ ก็ถูกประท้วง กระทั่งถูกแจ้งความเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112.
Author : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง.
Publishing Date : Nov 07, 2021
หนังสือรวมบทความเกี่ยวกับ พุทธ-พราหมณ์-ผี ในศาสนาไทย เนื่องในวาระโอกาสที่อาจารย์นิธิมีอายุครบรอบ 80 ปี ใน พ.ศ. 2563 เขียนโดย เจ้าพ่อแห่งเรื่องศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างอาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง แห่งภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้นที่อาจารย์คมกฤชคัดเลือกมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในไทยกับในชมพูทวีป ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยที่ศึกษาทางด้านพุทธศาสนาโดยตรงคือ มหาวิทยาลัยนาโรปะ ในสหรัฐอเมริกา อย่างคุณวิจักขณ์ พานิช แห่งสถาบันวัชรสิทธา โดยข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้นที่คุณวิจักขณ์คัดเลือกมานั้น โดยรวมแล้วเป็นการใช้มุมมองเกี่ยวกับศีลธรรมและมนุษยธรรม ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ เช่น เหตุการณ์ส่ง SMS ของอากง รวมถึงการสำรวจตัวเองจากภายใน อนึ่ง ทั้งคุณวิจักขณ์และอาจารย์คมกฤชยังได้เขียนบทความเล่าถึงอิทธิพลจากงานของอาจารย์นิธิที่ส่งมาถึงพวกเขาด้วยอีกคนละชิ้น คือ พุทธศาสนาในฐานะปรากฏการณ์ และงานเชิงอรรถเล็กๆ ของอาจารย์นิธิ ซึ่งก็ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว และท้ายที่สุดคือ บทความของคุณศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ โดยข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาผีที่กลมกลืนอยู่กับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนา ผ่านทางการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีต่างๆ.
Author : Hans penth.
Publishing Date : N/A
Author : American Association of Museums. Meeting & Museum Expo (2006 : Dallas, Tex.)
Publishing Date : N/A
Author : -
Publishing Date : N/A
 

This website uses cookies

We use cookies to optimize performance. and good experience in using the website If you continue to use this website By accepting the terms and conditions and privacy policy