Main Menu | | E-Rare Book
Author : คณะสงฆ์ วัดเชตุพน วิมลมังคลาราม
Publishing Date : Dec 14, 2015
จุลยุทธการวงศ์ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยานี้ เนื้อความเริ่มตั้งแต่เรื่องสกุลวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองเป็นต้นมา มีสาระสำคัญด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีบาลีไทย/งานพระราชทานเพลิงศพ พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสรมหาเถร) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 30 มิถุนายน 2535
Author : -
Publishing Date : Dec 14, 2015
เป็นหนังสือที่ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นเนื่องโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชกุศลในงานออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายการบำเพ็ญพระราชกุศลประการต่างๆที่ถวายแด่พระศพ พร้อมกับสำเนาพระธรรมเทศนาที่พระมหาเถระได้ถวายในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลนี้
Author : -
Publishing Date : Dec 14, 2015
เป็นหนังสือที่คณะสงฆ์จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชกุศลในงานออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระประวัติ พระกรณียกิจโดยสังเขป และเนื้อความที่นำมาจาก คำนำสวดมนตร์แบบมคธ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณเอง
Author : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ สำนักเลขาธิการนายยกรัฐมนตรี
Publishing Date : Dec 14, 2015
เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งคนสมัยต้นรัตโกสินทร์มองว่าเป็น "ครั้งบ้านเมืองดี" เมื่อพิจรารณาโครงสร้างแล้วแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นคำพรรณาภูมิสัณฐานของพระนครศรีอยุธยาซึ่งจบลงด้วยหัวข้อ "ว่าด้วยเรื่องพระราชวังน่า" ส่วนที่ 2 เป็นบันทึกเกี่ยวกับความวัฒนธรรม ความเชื่อ การจัดพระศาสนาและพระราชพิธี ส่วนที่ 3 เป็นตำราสอนข้าราชการขั้นสุง เรียกในที่นี้ว่า "เรื่องพระพิไชยเสนา เป็นตาราสำหรับข้าราชการควรประพฤติ" ส่วนที่ 4 เป็นเรื่องเหตุการณ์ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งได้เป็น 2 ตอนคือ ตอนต้นเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ จนสิ้นรัชกาลสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตอนหลังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจนถึงช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
นอกจากนี้ยังเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับสมัยปลายอยุธยาในด้านต่าง ๆ เช่น ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง ว่าด้วยในพระนคร กรุงศรีอยุธยา ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา
Author : -
Publishing Date : Jan 25, 2016
การนับพุทธศักราชของไทยเริ่มนับจากที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมาแล้ว 1 ปี ซึ่งใน พ.ศ. 2500 จะครบ 25 พุทธศตวรรษจึงมีการจัดงานฉลองขึ้น มีการสร้างพุทธมณฑล การดำเนินงานต่างเกี่ยวกับการสร้างพุทธมณฑล เช่น การเจรจาจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้าง การวางผัง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการเตรียมงานฉลองต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานบริเวณท้องสนามหลวง การจัดทำพระเครื่องแจกจ่ายแก่ผู้บริจาคเงินสมทบทุน ในหนังสือยังอธิบายถึงความหมายและหลักการสำคัญของศาสนาพุทธ การจัดงบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานสำคัญ 15 แห่ง
Author : Museum of Siam
Publishing Date : Oct 01, 2015
การสมโภชเฉลิมฉลองความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาให้เป็นการมโหฬารทั่วราชอาณาจักร ในยุคครบรอบปีที่ 25 พุทธศตวรรษ
Author : นางบริบาลเวชกิจ (สำเภาลวางกูล)
Publishing Date : Jan 25, 2016
จดหมายเหตุรายวัน ของท่านบาดหลวง เดอ ชวาสี ผู้ช่วยมองสิเออร์ เลอ เชอวาเลีย เดอ โชมอง ราชทูตของพระเจ้าลูอิสมหาราชที่ ๑๔ กรุงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีครั้งแรก พ.ศ.๒๒๒๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗
Author : Museum of Siam
Publishing Date : Oct 02, 2015
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรีสันธานวิทยาสิทธิ์ และ ฌาปนกิจศพ เด็กชายกำเนิด พลางกูร มีนาคม พ.ศ.2482รายละเอียดเพิ่มเติม:เนื้อหาภายในประกอบด้วยประวัติ สกุล พลางกูร ,ชีวประวัติสังเขปของท่านผู้วายชนม์ทั้ง 2 ท่าน
Author : -
Publishing Date : Jan 25, 2016
เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๔๗๓ ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงโดยหม่อมเจ้า ดำรัศดำรงค์ เทวกุล เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จประพาสไปยังเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
Author : นายฉันท์ ขำวิไล (ผู้รวบรวม) และ นายกิม หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ชำระ)
Publishing Date : Jan 27, 2016
เป็นหนังสือฉันทศาสตร์ เล่มที่ 1 ว่าด้วยฉันท์วรรณพฤติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับฉันท์ชนิดต่างๆ โดยฉันท์ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ฉันท์ภาษามคธ ฉันท์ภาษาไทย (ที่ผ่านการแปลจากภาษามคธ) ตัวอย่างฉันท์เป็นภาษาไทย และบัญญัติฉันท์ภาษาไทย (คำอธิบายและวิธีการประพันธ์ฉันท์) โดยมีการรวบรวมฉันท์ต่างๆที่มีนักประพันธ์ได้แปลจากภาษามคธเป็นภาษาไทย โดยผู้แปลฉันท์ได้แก่ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และรวมถึงผู้รวบรวมฉันท์ในเล่มนี้ คือ นายฉันท์ ขำวิไล ก็ได้ทำการแปลอีกบางส่วนเช่นกัน
Author : นายฉันท์ ขำวิไล (ผู้รวบรวม) และ นายกิม หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ชำระ)
Publishing Date : Jan 27, 2016
เป็นหนังสือฉันทศาสตร์ เล่มที่ 2 ว่าด้วยฉันท์มาตราพฤติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับฉันท์ชนิดต่างๆ โดยฉันท์ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ ฉันท์ภาษามคธ บัญญัติฉันท์ภาษามคธ (คำอธิบายและวิธีการประพันธ์ฉันท์) ฉันท์ภาษาไทย (ที่ผ่านการแปลจากภาษามคธ) ตัวอย่างฉันท์เป็นภาษาไทย และบัญญัติฉันท์ภาษาไทย (คำอธิบายและวิธีการประพันธ์ฉันท์) โดยมีการรวบรวมฉันท์ต่างๆที่มีนักประพันธ์ได้แปลจากภาษามคธเป็นภาษาไทย โดยผู้แปลฉันท์ได้แก่ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และรวมถึงผู้รวบรวมฉันท์ในเล่มนี้ คือ นายฉันท์ ขำวิไล ก็ได้ทำการแปลอีกบางส่วนเช่นกัน
123NextLast