Main Menu | | Book
Author : ยงยุทธ ชูแว่น.
Publishing Date : Nov 07, 2021
\"การค้นหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทยของผู้เขียนเป็นเสมือนการเดินทางเข้าไปในป่าลึกแห่งอดีตที่น่าหลงใหล เพราะเป็นอาณาบริเวณที่มีทั้งความซับซ้อนหลากหลายและกว้างขวางยิ่ง จนบางครั้งทำให้รู้สึกกริ่งเกรง หวาดกลัวในความไพศาลของพรมแดนความรู้ เมื่อเทียบกับกำลังที่จำกัดของตัวเอง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า \'เรื่องเล่า\' เหล่านี้ จะช่วยให้คนรุ่นใหม่มองเห็นตัวเองและคุณค่าของพื้นที่สำคัญบางส่วนที่อาจละเลยหรือมองข้ามกันมานาน พื้นที่ทางจิตวิญญาณอันเสมือนผืนป่าหลังบ้าน ซึ่งได้ซ่อนขุมทรัพย์และความใฝ่ฝันบางอย่างไว้ การช่วยกันฟื้นฟูรักษาจะทำให้เกิดความหมายที่งดงาม และสามารถเหยียบยืนบน \'สวนสวรรค์\' แห่งนี้ได้อย่างเต็มเท้า เราจะรู้สึกสดชื่น เป็นอิสระ เมื่อได้สูดหายใจเอากลิ่นดอกไม้พื้นเมืองอันคุ้นเคย ก่อนย่างก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับอดีตอย่างมั่นคง ในท่ามกลางความผันแปรของมวลอากาศโลกที่ไม่แน่นอนมากขึ้นทุกปี\" -- ปกหลัง.
Author : สุรพศ ทวีศักดิ์.
Publishing Date : Nov 07, 2021
การที่มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นศาสนจักรของรัฐ มีมติให้พระสงฆ์ทุกวัดทั่วประเทศเทศนาสอนประชาชนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขณะที่มีมติและคำสั่งห้ามภิกษุสามเณรจัดอภิปราย เสวนา แสดงความเห็น หรือร่วมชุมนุมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าพระเณรไม่มีเสรีภาพทางศาสนาใช่หรือไม่ เพราะ \"เสรีภาพ\" (Freedom) หมายถึง \"เลือกได้\" เช่น เลือกได้ว่าจะตีความพุทธธรรมสนับสนุนความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็ได้ จะตีความพุทธธรรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยก็ได้ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริง ก็ต้องเลือกตีความพุทธธรรมสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาว่าพระเณรมีเสรีภาพทางศาสนาจริงหรือไม่? เป็นปัญหาสำคัญพอๆ กับปัญหาว่านักการเมืองมีเสรีภาพทางการเมืองหรือไม่? ซึ่งชัดเจนว่าในบ้านเรานักการเมืองไม่ได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่สามารถอภิปรายประเด็นปัญหาสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยในสภาได้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแค่นักการเมืองพูดพาดพิงสถาบันกษัตริย์เฉียดๆ ก็ถูกประท้วง กระทั่งถูกแจ้งความเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112.
- ผี-พราหมณ์-พุทธ ในศาสนาไทย /คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, วิจักขณ์ พานิช, ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, บรรณาธิการ.
Author : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง.
Publishing Date : Nov 07, 2021
หนังสือรวมบทความเกี่ยวกับ พุทธ-พราหมณ์-ผี ในศาสนาไทย เนื่องในวาระโอกาสที่อาจารย์นิธิมีอายุครบรอบ 80 ปี ใน พ.ศ. 2563 เขียนโดย เจ้าพ่อแห่งเรื่องศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างอาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง แห่งภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้นที่อาจารย์คมกฤชคัดเลือกมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในไทยกับในชมพูทวีป ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยที่ศึกษาทางด้านพุทธศาสนาโดยตรงคือ มหาวิทยาลัยนาโรปะ ในสหรัฐอเมริกา อย่างคุณวิจักขณ์ พานิช แห่งสถาบันวัชรสิทธา โดยข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้นที่คุณวิจักขณ์คัดเลือกมานั้น โดยรวมแล้วเป็นการใช้มุมมองเกี่ยวกับศีลธรรมและมนุษยธรรม ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ เช่น เหตุการณ์ส่ง SMS ของอากง รวมถึงการสำรวจตัวเองจากภายใน อนึ่ง ทั้งคุณวิจักขณ์และอาจารย์คมกฤชยังได้เขียนบทความเล่าถึงอิทธิพลจากงานของอาจารย์นิธิที่ส่งมาถึงพวกเขาด้วยอีกคนละชิ้น คือ พุทธศาสนาในฐานะปรากฏการณ์ และงานเชิงอรรถเล็กๆ ของอาจารย์นิธิ ซึ่งก็ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว และท้ายที่สุดคือ บทความของคุณศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ โดยข้อเขียนทั้ง 8 ชิ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาผีที่กลมกลืนอยู่กับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนา ผ่านทางการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีต่างๆ.
Author : American Association of Museums. Meeting & Museum Expo (2006 : Dallas, Tex.)
Publishing Date : N/A
123NextLast