Main Menu | | Museum of Siam Publication
Author : Museum of Siam
Publishing Date : Sep 24, 2015
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ความเป็นมา บทบาท รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับ Discovery Museum : พื้นที่ใหม่แห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Nov 11, 2015
จัดขึ้นด้วยความตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อประชาคมอาเซียนจะเข้ามาสู่ประชาคมไทยในอนาคตอันใกล้ เมื่อความแตกต่างอยู่รอบตัว เมื่อต้องสัมพันธ์กับคนอื่น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราต้องตระหนัก และเรียนรู้ในความแตกต่างนั้นอย่างเปิดใจ เรื่องเสียงจากประเทศในอาเซียน จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรา และคนอื่น ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Nov 11, 2015
สารพัดยักษ์นานาชาติ ไขความลับคติความเชื่อเรื่องยักษ์ของคนไทย เรื่องราวของยักษ์วัดแจ้ง กับยักษ์วัดโพธิ์ทะเลาะกัน ต่างฝั่งต่างแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อเอาชนะ มาร่วมหาสาเหตุแห่งศึกยักษ์ครั้งนี้ และช่วยกันให้กำลังใจว่า ยักษ์ทั้งสองจะหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้บ้านเมืองกลับมาสงบได้อย่างไร
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Nov 12, 2015
เรื่องราวของวัฒนธรรมรัก จากต้นรัก พืชในวงศ์เดียวกับต้นไม้อีกหลากหลายพันธุ์ เช่น มะม่วง และมะปราง เพื่อเป็นตัวอย่างในการเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทย ผ่านการค้าขายก็ดี ความขัดแย้งเมื่อครั้งอดีตก็ด้วย พร้อมกันนี้ยังได้นำความรู้เก่าแก่ดั้งเดิมที่ตกทอดกันมาในแต่ละประเทศเกี่ยวกับรัก มาต่อยอดและประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป งานนี้รักจากทั้ง 10 ชาติมีอะไรให้หลงรักอีก
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Nov 12, 2015
ภายใต้รูปแบบสวนป่าแห่งการเรียนรู้ บนเส้นทางสายธุรกิจ “ค้าของป่า” ในสมัยอยุธยา ที่โกยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าประเทศด้วยผลิตผลจากต้นทุนทางธรรมชาติที่ได้มาแบบฟรีๆมุ่งเน้นให้ผู้ชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของคนในอดีต เพื่อสะกิดต่อมคิดและสร้างสรรค์
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
ชาวนามือใหม่เกาะติดทุกความเป็นไป ในนากลางกรุง ทุ่งสีทอง กับนิทรรศการ "Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง" ที่เนรมิตแปลงนาข้าว ขั้นตอนในการปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้มาจัดตั้งไว้ใจกลางเมืองตลอดจนเรียนรู้ภูมิปัญญาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
การพัฒนารูปแบบ เสริมสร้างความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนำเสนอผลงานจัดแสดงสู่สาธารณชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ในการให้บริการแก่สังคมไทย โดย “จังหวัดลพบุรี” ถือเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีพิพิธภัณฑ์จำนวนมากกว่า 30 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ ไผ่ จากธรรมชาติที่เอามาแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆหรือเรียกอีกอย่าง ปัจจัย 4 ทั้งความเป็นมา มาจากที่ไหน ทำมาใช้เป็นดนตรี และคนไทย ไผ่กับปัจจัยทั้ง 4 ฯลฯ ล้วนแต่เป็นประโยชน์ของไผ่ทั้งนั้น
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
เรื่องราวเกี่ยวกับสยามกับโปรตุเกส การเดินทางสำรวจโลก, เส้นทางการเดินเรือของชาวโปรตุเกสกับสยาม รวมทั้งเกมต่างๆและภาพประกอบทั้งเล่ม
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
ถ่ายทอดมุมมองสองแบบที่ยึดหลักความสำคัญ ด้านชาติพันธุ์และมุมมองที่ยึดแนวคิดว่า คนอื่นแตกต่างๆ จากผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านลีซอ(บ้านสามกุลา) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ในภาคเหนือของประเทศไทย ประหลาดใจที่เห็นวัสดุแปลก ที่จัดวางในหมู่บ้าน พวกเขาแต่งชุดสีสันบาดตา จากภาพถ่าย หนังสือเล่มนี้เป็น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งเล่ม
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
ค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ใน “หมวก” สิ่งประดิษฐ์ที่มาพร้อมกับ เรื่องหนักหัว ด้วยเหตุที่ศีรษะ เป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย หมวก บางแบบอาจสะท้อน แนวคิดภูมิจักรวาล บางแบบอาจแสดงถึงภูมิปัญญา ของคนในภูมิภาคร้อนชื้น บางแบบอาจเกี่ยวโยงกับอำนาจความศิวิไลซ์ และบางแบบอาจเป็นที่มาของการถกเถียงไม่จบสิ้น หนังสือเล่มนี้เป็น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งเล่ม
Author : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
Publishing Date : Jul 04, 2016
เป็นการเล่าขานความชาญฉลาดในการถนอมอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยกระบวนการหมักดอง ถ่ายทอดและสอดคล้องมาถึงหลักการถนอมอาหารในยุคปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนโบราณ มีความสามารถดั่งนักวิทยาศาสตร์ นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้แม้ไม่มีกล้องจุลทรรศน์ ดัดแปลง แปรรูปอาหารรสชาติถูกลิ้น จนเป็นสัญลักษณ์การกินที่เป็นตัวตนของคนไทย
123NextLast